4/7/09

Taskonomy

เนื่องมาจากลัทธิสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) เป็นฐานของแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในรูปแบบการเรียนรู้ของประเทศไทยในปัจจุบัน สำหรับพัฒนาการที่น่าสนใจที่สุด คือ การออกแบบใหม่ของ Taskonomy ซึ่งเป็นแนวคิดลัทธิสร้างสรรค์นิยมอย่างแท้จริง เช่นเดียวกันนั้นสามารถช่วยออกแบบบทเรียนอื่นๆในเว็บเควสได้อีกด้วย ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยนำประสบการณ์เดิมที่ตัวเองมีมาเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ จากการที่ได้ไปค้นคว้าหาข้อมูล หรือจากการแก้ปัญหาต่างๆ
Taskonomy เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเว็บเควส ส่วนนี้เป็นส่วนการให้งานหรือภารกิจที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้ให้สำเร็จ ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องดำเนินการตามกิจกรรมขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ได้คำตอบ ส่วนนี้เป็นส่วนที่ให้เป้าหมายและจุดเน้นสำหรับผู้เรียน ในการออกแบบงานต่างๆ ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลและความรู้ แบ่งได้เป็น 12 งาน คือ
1. Retelling Tasks
เป็นงานที่ผู้เรียนไปศึกษาจากแหล่งค้นคว้า ข้อมูล หรือเว็บไซต์ต่างๆ ย่อมสามารถสรุป จับใจความสำคัญจากเนื้อหาสาระได้บ้าง ผู้เรียนสามารถนำเสนอข้อสรุปต่างๆ ผ่าน PowerPoint HyperStudio presentations โปสเตอร์ รายงานหรือข้อสรุปสั้นๆ กิจกรรมแบบนี้ไม่มีถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน
2. Compilation Tasks
เป็นงานง่ายๆ ที่ผู้เรียนสามารถนำข้อมูล ความรู้ต่างๆ มาเรียบเรียงและจัดการใหม่ งานนี้เป็นงานที่นำความรู้ที่ได้ไปใช้จริง เป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้เรียนเอง แล้วจึงเผยแพร่ความรู้ที่ได้ออกไป
3. Mystery Tasks
เป็นงานที่หลายๆ คนชอบ มีลักษณะคล้ายกับนักสืบที่สืบประเด็นเรื่องราวหรือไขความลับต่างๆ การออกแบบงานนี้เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ ปัญหาที่ต้องการจะรู้ไม่ควรง่ายจนเกินไป งานแบบนี้เหมาะกับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาและผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่
4. Journalistic Tasks
เป็นงานที่ค้นหาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นข้อเท็จจริง งานนี้ต้องการความรวดเร็วและความแม่นยำมาก วิธีการเขียนหรือนำเสนอรายงานออกมา เพื่อเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง
5. Design Tasks
เป็นงานที่วางแผนหรือออกแบบ เพื่อให้เกิดผลงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
6. Creative Product Tasks
เป็นงานที่มีความชัดเจนในตัว ผู้เรียนเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ โดยใช้ความรู้จากแหล่งต่างๆ เป็นพื้นฐาน
7. Consensus Building Tasks
เป็นงานที่โต้เถียง แต่เป็นการโต้เถียงเพื่อประโยชน์เป็นเป้าหมายสูงสุด มีหลักการคือ ความแตกต่างจะช่วยฝึกแก้ปัญหาได้ ผู้ที่สร้างงานนี้จึงพยายามนำความคิดต่างกันให้มาลงรอยกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนให้เกิดการฝึกฝนไปด้วย
8. Persuasion Tasks
เป็นงานที่มีแนวคิดว่า ความคิดย่อมมีการมองต่างมุม เพราะอาจจะมีเหตุผลที่ต่างกันออกไปแต่มันก็มีประโยชน์สำหรับการพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ โดยมีการเสนอในหลายรูปแบบ เช่นการเขียนจดหมาย วิดีโอ โปสเตอร์ เพื่อออกแบบการโต้กันทางความคิดเพื่อพัฒนาความคิดต่อไป
9. Self- Knowledge Tasks
เป็นงานที่ปัจจุบันมีน้อย ซึ่งมีหลักการว่า ควรให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อจะได้นำไปพัฒนาตนเองต่อไป เป้าหมายขั้นสุดยอดของเว็บเควสไม่ใช่การทำให้ผู้เรียนต้องพึ่งพาการเรียนแบบเว็บ
เควสตลอดไป แต่จะต้องค่อยๆ รื้อนั่งร้านดังกล่าวออกและยืนอยู่บนพื้นฐานการเรียนรู้ขั้นสูงได้ด้วยตนเอง
10. Analytical Tasks
เป็นงานที่มีลักษณะการเรียนรู้ที่มีการเรียนถึงความสำคัญของสิ่งต่างๆที่สัมพันธ์ต่อกัน ภายในหัวข้อเดียวกัน โดยการวิเคราะห์เหตุผล เพื่อพัฒนาความรู้ ค้นหาความเหมือนความต่าง ความเกี่ยวโยงกันและหาความหมายกันและกัน และมีการตั้งคำถามเพื่อสร้างภารกิจให้ผู้เรียนมีโอกาสค้นหาและนำความรู้มาประยุกต์กับเหตุการณ์ปัจจุบัน จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างมีตรรกะระหว่างหลักการต่างๆ อันเป็นการเพิ่มโอกาสการส่งถ่ายการเรียนรู้จากบริบทหนึ่งไปสู่อีกบริบทหนึ่ง ในขณะเดียวกันจะช่วยเอื้อให้เกิดการวางรากฐานความรู้ที่ดีขึ้น
11. Judgment Tasks
เป็นงานที่มีเกี่ยวกับการประเมิน ซึ่งการประเมินสิ่งใดจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ งานประเภทนี้จะเสนอข้อมูลโดยลำดับหัวข้อ เพื่อเรียนรู้ ซักถาม เพื่อจัดลำดับ หรือแจ้งผลของการตัดสินใจ
12. Scientific Tasks
เป็นงานที่ผู้เรียนต้องฝึกการรายงานผลในรูปแบบมาตรฐานตามการรายงานทางวิทยาศาสตร์ จะทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงานทางวิทยาศาสตร์ และมีการช่วยตั้งสมมติฐานเพื่อเสริมความเข้าใจ พร้อมกับฝึกให้ผู้เรียนสามารถตั้งข้อสมมติฐานโดยใช้ความรู้ความเข้าใจในการที่จะเลือกข้อมูลทุกรูปแบบ
เว็บไซต์อ้างอิงhttp://webquest.sdsu.edu/taskonomy.html http://webquest.org/news/2008/04/updating-webquest-taskonomy.htm